มีหลายคนที่กำลังเผชิญปัญหากับการฉี่ไม่ออก ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายนั้นไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ แม้จะรู้สึกว่าปวดปัสสาวะก็ตาม หรืออาจจะต้องใช้เวลาในการเบ่งปัสสาวะออกมา ในรายที่ไม่รุนแรงยังสามารถที่จะถ่ายปัสสาวะได้ แต่มักจะถ่ายได้แบบไม่สุดทำให้มีปัสสาวะเหลือค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง

ฉี่ไม่ออก เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการฉี่ไม่ออกจะเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ในที่นี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่พบได้บ่อยดังนี้

1.ท่อปัสสาวะอุดตัน

เป็นสาเหตุหลักของอาการฉี่ไม่ออก ที่อาจเกิดได้จากโรคหรือความผิดปกติต่างๆ เพียงเล็กน้อยและเกิดการสะสมจนอุดตัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะระบายน้ำปัสสาวะออกจากร่างกายได้ตามปกติ เช่น

  • ต่อมลูกหมากโต เป็นสาเหตุที่พบมากในผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 50-60 ปี
  • อวัยวะภายในอุ้งเชิงการย้อน หรือความผิดปกติของผนังช่องคลอดเกิดการหย่อนคล้อย
  • ท่อปัสสาวะตีบแคบ มีอาการท้องผูกหรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • มีเนื้องอกหรือมะเร็งบางชนิดที่อาจก่อตัวขึ้นในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
  • อาจจะเป็นอาการที่เกิดจากหลังผ่าตัดเสร็จ แต่ในข้อนี้อาการของคุณก็จะดีขึ้นหลังจากหมดฤทธิ์ยาชา

2.ระบบประสาท

เกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและหูรูดปัสสาวะนั้นเกิดความผิดปกติ จึงไม่สามารถบีบแบะคบายตัวได้ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะจึงทำให้ปัสสาวะไม่ออก อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคเบาหวานโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บบริเวณอุ้งเชิงการ พิษจากโลหะหนัก หรือการคลอดบุตรทางช่องคลอด

3.การใช้ยา

การใช้ยาบางชนิดจะรบกวนการทำงานของเส้นประสาทที่เป็นตัวส่งสัญญาณไปยังกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมากเช่น ยารักษาอาการซึมเศร้าบางตัว ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดอาการบีบเกร็งหรือบรรเทาอาการปวดท้องหดเกร็งกล้ามเนื้อ และยากลุ่มแก้แพ้

อาการเป็นอย่างไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้วอาการฉี่ไม่ออกนี้ จะเป็นภาวะที่แบ่งลักษณะอาการที่พบได้ตามความรุนแรง เช่น

1.ปัสสาวะไม่ออกแบบเฉียบพลัน

คุณจะรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถที่จะเบ่งปัสสาวะออกมาได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณท้องช่วงล่าง หรืออาจจะพบอาการท้องอืดได้ด้วย

2.ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง

โดยคุณนั้นจะปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งขึ้นไป และจะรู้สึกว่าถ่ายปัสสาวะอย่างไรก็ไม่สุด ต้องออกแรงเบ่งให้ถ่ายปัสสาวะออกมาได้ และน้ำปัสสาวะที่ออกมานั้นจะหยุดเป็นช่วงๆ ไม่พุ่งออกมาตามปกติ โดยเมื่อคุณได้ถ่ายปัสสาวะไปแล้วนั้นคุณจะรู้สึกปวดปัสสาวะอีก และอาจจะมีอาการแสบขัด ปวดท้องร่วมด้วย

ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้คุณจะต้องไปพบแพทย์ในทันที แม้ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นท้องหรือปวดท้องบริเวณช่วงล่างตรงทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย ซึ่งอาการปัสสาวะไม่ออกแบบเฉียบพลันนี้ในบางคนอาจไม่พบอาการผิดปกติหรือการแสดงอาการรุนแรงขึ้นมาจนรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้หลายคนนั้นละเลยการรักษา และถ้าหากคุณนั้นไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนตามมาไม่ว่าจะเป็นการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง

เมื่อมีอาการฉี่ไม่ออก อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเสียหายหรือทำงานผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ และเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นต้น

วิธีการรักษาเมื่อฉี่ไม่ออก

ผู้ป่วยที่ไม่รักษาอาการให้หายขาดก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้ หรืออาจจะทำให้เป็นปัญหาตามมาในระยะยาว การรักษามีได้หลายวิธีโดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเป็นหลัก

1.การระบายน้ำปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้เลยแพทย์จะต้องใส่สายยางสวนเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อนำน้ำปัสสาวะที่ตกค้างออกมา แต่หากเกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะแพทย์อาจจะต้องระบายออกทางช่องท้องช่วงล่างโดยตรง

2.การใช้ยา ใช้รักษาอาการที่มีสาเหตุมาจากต่อมลูกหมากโต โดยตัวยาจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากหรือทำให้ต่อมลูกหมากหดตัว

3.การผ่าตัด ถ้าหากรักษาโดยวิธีข้างต้นไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นหรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์จะต้องแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะส่วนที่ตีบ การแก้ไขภาวะอุ้งเชิงการหย่อนคล้อย หรือการผ่าตัดเอาเนื้อ เช่น ชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งออกจากกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

วิธีการป้องกันอาการฉี่ไม่ออก

การป้องกันอาจไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่ เพราะมีหลายสาเหตุที่ทำให้ฉี่ไม่ออก แต่จะเป็นการลดความเสี่ยงได้ด้วยการรักษาตามต้นเหตุให้หายขาด โดยคุณจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันรวมไปถึงพฤติกรรมการกินเพื่อป้องกันอาการฉี่ไม่ออกเหล่านี้

และนี่ก็คือสาเหตุที่ตะทำให้คุณนั้นเกิดอาการที่จะทำให้ฉี่ไม่ออกได้ โดยการรักษาก็มีหลากหลายวิธี อยู่ที่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่การป้องกันที่ดีที่สุดไม่ใช่การรักษาจากแพทย์ แต่คือการที่คุณนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้นั่นเองค่ะ